วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์การเมืองในแนวสถาบันนิยมแตกต่างจากแนวความคิดเชิงระบบอย่างไร

1.การวิเคราะห์การเมืองในแนวสถาบันนิยมแตกต่างจากแนวความคิดเชิงระบบอย่างไร  


แนวคิดเชิงสถาบันนิยม เน้นเรื่องระบบการเมือง เป็นแนวความคิดที่มุ่งสนใจกระบวนการการสร้างสถาบัน ซึ่งหมายถึงการะบวนการรวบรวม ระเบียบกฎเกณฑ์ของกิจกรรมขึ้นเป็นแบบแผนขององค์กรหรือสถาบันเป็นแนวทางที่เน้นการศึกษารูปแบบต่างๆ ของกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มาและโครงสร้างและรูปแบบของรัฐ บทบาท อำนาจและหน้าที่
แนวคิดเชิงระบบ  แนวคิดเน้นเรื่องระบบการเมือง เป็นแนวคิดที่มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างโครงสร้างและกระบวนการต่างๆของระบบการเมือง เน้นว่าการเมืองเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่าง โครงสร้างกับหน้าที่ ระบบการเมืองมีหน้าที่เกี่ยวกับการปรับตัว และการ อนุรักษ์ หรือการเผชิญกับปัญหาต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงปัจจัยป้อนเข้า input ไปเป็น ผลผลิต output
2.หลักการในการปฏิรูปการเมืองกับหลักการปฏิรูประบบราชการมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไรยกตัวอย่างประกอบ

ปฏิรูปการเมือง หมายถึง การผ่าตัดปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดองค์กรทางการเมืองและเศรษฐกิจสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เพื่อทำให้การพัฒนาทางการเมืองมีความเป็นประชาธิปไตย ชนิดที่ว่า ประชาชนสามารถเข้าไปมีบทบาทได้มากขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือการปรับปรุงแก้ไขปัญหาระบบ การเมืองทั้งระบบ เพื่อให้นักการเมืองในระบบมีความสุจริต ตลอดจนคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่แท้จริง
การปฏิรูปการเมือง ตามหลักการทฤษฎีและตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มี 3ส่วนสำคัญคือ
1. การปฏิรูประบบการเมือง แยกเป็น 4ส่วน
  1.  ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา    
  2.  ระบบประชาธิปไตยแบบทางตรง
  3.  ระบบประชาธิปไตยแบบทางอ้อม
  4.  ระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

2. การปฏิรูปภาคส่วนสำคัญทางการเมือง ประกอบด้วย 
  • ภาคผู้แทนหรือนักการเมือง
  • ภาคพลเมือง
  • ภาคองค์การตามรัฐธรรมนูญ

3. การปฏิรูปกลไกขององค์กรสำคัญทางการเมือง 
 ประกอบด้วย 5ส่วน
  1. โครงสร้างหน้าที่ทางการเมือง  
  2. ปฏิสัมพันธ์ทางการเมือง 
  3. การสร้างสมดุลทางการเมือง
  4. การปรับตัวทางการเมือง 
  5. การสร้างความก้าวหน้าทางการเมือง

 ยกตัวอย่าง การปฏิรูปการเมือง
  • คณะทำงานเตรียมการปฏิรูป เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูป ประเทศไทย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ  11ด้าน

  1. ด้านการเมือง
  2. ด้านเศรษฐกิจ
  3. ด้านการศึกษา
  4. ด้านสังคม 
  5. ด้านกฎหมาย 
  6. ด้านการบริหารราชการ 
  7. พลังงาน
  8. สาธารณสุข 
  9. สื่อสารมวลชน 
  10. ด้านการปกครองท้องถิ่น 
  11. ด้านอื่นๆ
การปฏิรูประบบราชการ ระบบราชการถือเป็นกลไกหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมี กระทรวง ทบวง กรม เป็นฝันเฟื่องในการทำงาน แต่อย่างไรก็ตาม ระบบราชการไทยยังมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว โปร่งใส่และเป็นธรรม จึงได้สรุปได้ดังนี้

  1. ปัญหาโครงสร้าง ระบบราชการมีขนาดใหญ่ ทำให้มีความซ้ำซ้อนในองค์การอำนาจสสั่งการบริหารเกิดความล่าช้าในการทำงานไม่ทันต่อความต้องการ
  2. ปัญหาการบริหาร การบริหารไม่มีความโปร่งใส่ มีการแทรกแซงจากนักการเมือง และในด้านการประเมินผล หรือประสิทธิผลด้านการพัฒนาไม่มีการ จัดเจ็บไว้เป็นข้อมูลในการแก้ไข้ปัญหาอย่างจริงจัง
  3. ปัญหาระบบบริหารบุคลากร ไม่มีความเท่าเทียมไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าในการรับราชการที่แตกต่างกัน บุคลากรขาด ความรู้ความเชี่ยวชาญ ขาดความเป็นมืออาชีพ และยึดติดกับการทำงานใช้อำนาจสั่งการ ไม่ให้โอกาสให้ประชาชนเสนอข้อคิดเห็นเพราะ มีการอุปถัมภ์ เกิดขึ้น
  4. ปัญหาการทุจริตและพฤติมิชอบ
ยกตัวอย่างการปฏิรูประบบราชการ
  • นาย อานันท์ ปันยารชุน การแปรสภาพของกิจกรรมของรัฐให้เป็นกิจกรรมของเอกชน
  • นายบรรหาร ศิลปะอาชา ได้เสนอให้มีการเกษียณอายุราชการเมื่อ อายุครบ 60 ปี
  • พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประกาศใช้ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พศ 2551


อ้างอิง http://rfm2.mod.go.th/thaireform.aspx